• ศุกร์. เม.ย. 19th, 2024

คุยกับ ‘เบทาโกร’ จากธุรกิจครอบครัว สู่บริษัทในตลาดหุ้น

คุยกับ เบทาโกร จากธุรกิจครอบครัว สู่บริษัทในตลาดหุ้น

‘เบทาโกร’ (BETAGRO) หนึ่งในแบรนด์อาหารที่คนไทยหลายคนคุ้นเคย กำลังจะเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นไทยวันพรุ่งนี้

การเงิน (2 พ.ย. 2565) หลังจากที่ทำธุรกิจมานานกว่า 50 ปี แต่ก่อนจะเข้าเทรด TODAY Bizview มีโอกาสพูดคุยกับ ‘วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เบทาโกร (BTG) ถึงความเป็นมา และแผนธุรกิจหลังจากที่เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซีอีโอของเบทาโกรเท้าความว่า เบทาโกรทำธุรกิจมานานกว่า 55 ปีแล้ว ที่ผ่านมาทำธุรกิจด้วยความตั้งใจว่าจะต้องช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยอาหารที่มีคุณภาพที่มากกว่า มีความปลอดภัยสูง และมีราคาที่เป็นธรรม ในยุคแรกก็เน้นการเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาผลิตเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ และอาหารแปรรูปต่างๆ รวมถึงอาหารแปรรูปพร้อมทาน ภายใต้แบรนด์ ‘เอสเพียว’ (S-Pure) และ ‘เบทาโกร’ (Betagro) ปัจจุบันมีการพัฒนาแบรนด์สินค้าต่างๆ มากขึ้น ครอบคลุมตั้งแต่สินค้าต้นน้ำไปจนถึงสินค้าปลายน้ำ รวมถึงมีการขยายธุรกิจไปยังพื้นที่ใหม่ๆ เช่น ธุรกิจอาหารสัตว์ และการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ เป็นต้น ในไตรมาสล่าสุด (ครึ่งแรกของปี 2565) เบทาโกรมียอดขายรวมกว่า 5.2 หมื่นล้านบาท โดยมาจาก 4 ธุรกิจหลัก คือ 1. ธุรกิจอาหารและโปรตีน 2. ธุรกิจเกษตร 3. ธุรกิจต่างประเทศ และ 4. ธุรกิจสัตว์เลี้ยง ถึงจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ แต่ถ้าอยากยกระดับคุณภาพอาหารให้ดีขึ้นไปอีก จะต้องอาศัยทั้งเทคโนโลยีและการสร้างความแตกต่าง จึงตัดสินใจระดมทุนเพื่อนำเงินมาเติมเต็มวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ อีกหนึ่งเหตุผลที่ตัดสินใจระดมทุน คือ ถึงจะเดินทางมานานกว่า 55 ปีแล้ว แต่การจะทำให้ธุรกิจยั่งยืนจริงๆ จะต้องสร้างองค์กรให้มีความเป็นสถาบันมากขึ้น และต้องเป็นมากกว่าธุรกิจครอบครัว นอกจากนี้ เชื่อว่าการเข้าตลาดหุ้น น่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ดึงดูดคนที่มีความสามารถให้เข้ามาทำงานด้วย ซึ่งเบทาโกรก็อยากได้คนที่มีความเชี่ยวชาญ และคนใหม่ๆ ที่มีความสามารถเข้ามาร่วมทีม สำหรับแผนการใช้เงินหลังเข้าระดมทุน แบ่งเป็น 1 ใน 3 ก้อนแรก จะถูกใช้ไปกับการลงทุน อีก 1 ใน 3 ก้อนถัดไป จะถูกใช้ชำระคืนหนี้ระยะสั้นและระยะยาว และ 1 ใน 3 ก้อนที่เหลือ จะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เมื่อถามถึงแผนธุรกิจหลังจากเข้าตลาดหุ้น ซีอีโอบอกว่า เบทาโกรยังเน้นการทำธุรกิจอาหาร และมั่นใจว่าบริษัทฯ จะโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความสามารถในการแข่งขันที่สูง

คุยกับ เบทาโกร จากธุรกิจครอบครัว สู่บริษัทในตลาดหุ้น

สำหรับแผนระยะสั้น เบทาโกรจะเน้นการนำข้อมูลมาใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร (Data Driven) การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต

และการสร้างรายได้การจัดจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพขึ้นจากทุกผลิตภัณฑ์ ส่วนระยะกลาง ข่าวการเงิน เตรียมตัวเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) โดยตั้งเป้าหมายว่าใน 4-5 ปีต่อจากนี้ เบทาโกรจะสามารถนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาพัฒนาองค์กรและยกระดับการจัดการต่างๆ ขณะที่แผนระยะยาวในช่วง 10 ปีต่อจากนี้ จะเห็นการลงทุนต่อเนื่องทุกปีใน 4 ธุรกิจหลัก เช่น การลงทุนในโรงงานอาหารสัตว์ การทำคอนแทรคฟาร์มมิ่ง การลงทุนในโรงงานอาหารแปรรูป ฯลฯ นอกจากการเติบโตจากธุรกิจเดิม (Orgุanic Growth) เบทาโกรยังขยายการลงทุนออกไปในธุรกิจใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การลงทุนในธุรกิจอาหารจากพืช (Plant-based Food) ภายใต้แบรนด์ ‘มีทลี่!’ (Meatly!) หรือการร่วมทุนกับพันธมิตร ‘เคอรี่’ (KERRY) ในการทำธุรกิจขนส่งด่วนแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain Distribution) ภายใต้แบรนด์ ‘เคอรี่คูล’ (KERRY COOL) เป็นต้น เมื่อถามถึงแนวโน้มของตลาดอาหารต่อจากนี้ ซีอีโอของเบทาโกรบอกว่า เทรนด์อาหารตอนนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. อาหารที่มีความปลอดภัยสูง เช่น อาหารพร้อมขาย (Pre-packaged Food) อาหารพร้อมทาน (Ready to Eat) และอาหารพร้อมปรุง (Ready to Cook)

กลุ่มนี้ได้รับความนิยมมากจากผู้บริโภค ซึ่งเป็นภาพที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีนี้ (2563-2565) จากผลกระทบโควิด-19 ทำให้คนต้องการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย รวมถึงตอยโจทย์เรื่องสุขภาพด้วย

2. ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน จากภาวะสงครามที่ทำให้ห่วงโซ่อาหารสะดุด

เมื่อภาพใหญ่เป็นแบบนี้ จะเห็นว่าธุรกิจอาหารยังมีโอกาสอีกมาก แต่ในอีกด้านหนึ่งที่คนทำธุรกิจอาหารต้องระวัง คือ ‘ภาวะราคาอาหารเฟ้อ’ (Food Inflation) ทำอย่างไรจึงจะลดภาระต้นทุนผู้บริโภคให้น้อยที่สุด เพื่อรักษาสมดุล

ซึ่งการบริหารผลิตภาพ (Productivity) เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือการปรับปรุงกระบวนการผลิตใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น แต่ต้นทุนต่อหน่วยน้อยลง ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดภาระผู้บริโภค นอกจาก 2 เทรนด์ข้างต้นแล้ว ‘โปรตีนทางเลือก’ (Alternative Protein) ก็เป็นอีกเทรนด์อนาคตสำคัญของธุรกิจอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารจากพืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Cell Culture) โปรตีนทางเลือกจากจุลินทรีย์ (Mycoprotein) หรือโปรตีนทางเลือกจากแมลง (Insect Protein) ทั้งหมดนี้เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้มีโปรตีนเพียงพอต่อการบริโภคของคนทั้งโลกในระยะข้างหน้า โดยผลการวิจัยพบว่า แหล่งโปรตีนในปัจจุบัน เพียงพอเลี้ยงคนเพียง 7,000 ล้านคนเท่านั้น