• พฤหัส. มี.ค. 28th, 2024

ทำไมโรคหัวใจเกิดกับคนอายุน้อยมากขึ้น

ByJuan Sanchez

ธ.ค. 19, 2022 #สุขภาพ
ทำไมโรคหัวใจเกิดกับคนอายุน้อยมากขึ้น

ความเชื่อเดิมว่าโรคหัวใจมักเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงอายุ กลับไม่เป็นจริงแล้วในปัจจุบัน ที่ทั่วโลกพบว่าเกิดกับคนอายุน้อยมากขึ้น

 สุขภาพ กลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจที่สำคัญมีหลายประเภท ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สาเหตุของกลุ่มโรคหัวใจมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ เพศ และปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น การออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร รศ. นพ. ทศพล ลิ้มพิจารณ์กิจ สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ. รามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายในรายการพบหมอรามาฯ ทางช่องยูทิวบ์ RAMA CHANNEL ว่าโรคหัวใจที่เกิดขึ้นมากที่สุดและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตทั้งของคนไทยและทั่วโลก คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันเอคโม่ (ECMO) “ปอดเทียม หัวใจเทียม”

ทำไมโรคหัวใจเกิดกับคนอายุน้อยมากขึ้น

พยุงชีพผู้ป่วยวิกฤต 6 ปัจจัยกระตุ้นหัวใจวายที่คุณอาจไม่รู้ นอนกลางวันช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ-หลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน พบได้มากในคนวัยกลางคนขึ้นไปจนไปถึงผู้สูงอายุ น้อยรายมากที่จะเป็นวัยเด็ก

แต่ก็สามารถพบได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอ่อนผิดปกติ การแตกหรือการเสื่อมของผนังหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการติดเชื้อที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งพบไม่บ่อย โดยส่วนใหญ่เกิดจากการที่หลอดเลือดมีไขมัน หินปูน หรือลิ่มเลือดไปอุดตัน ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอาจารย์แพทย์จากรามาฯ ระบุว่า ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันมีหลายประการ โดยปัจจัยแรก ได้แก่อายุ ในอดีต  ข่าวสุขภาพ ใช้เกณฑ์อายุสำหรับเพศชายที่ 55 ปี และหญิงวัย 65 ปี ขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยหมดประจำเดือน แต่ปัจจุบันสั้นลงเรื่อย ๆ อายุน้อยลง เพราะคนในยุคปัจจุบันเรามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลายประการ “ทั้งภาวะอ้วน ไขมันสูง ความดันเบาหวาน สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ไม่นับรวมเรื่องกรรมพันธุ์ ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจก็ต้องระวัง” รศ. นพ. ทศพล กล่าว