• ศุกร์. เม.ย. 19th, 2024

ผลวิจัยเผยว่าน้องหมาเป็นมากกว่าสัตว์เลี้ยง แต่ช่วยบำบัดเยียวยาจิตใจได้

ผลวิจัยเผยว่าน้องหมาเป็นมากกว่าสัตว์เลี้ยง

ผลวิจัยเผยว่าน้องหมาช่วยเยียวยาจิตใจได้ มีการศึกษาวิจัยมาเป็นเวลานานแล้วว่าการเลี้ยงสุนัข รวมถึงสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ จะช่วยบำบัดจิตใจได้เป็นอย่างดี

ข่าว โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้สูงวัยที่มีความโดดเดี่ยวและเป็นโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยสมองเสื่อม ผู้ที่มีความเครียดหลังเผชิญกับเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือที่เรียกว่า PTSD รวมถึงผู้มีภาวะเครียด วิตกกังวล แนวคิดของการนำสุนัขหรือสัตว์มาช่วยในการบำบัด เริ่มต้นมายาวนานในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยในปี 1860 ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) ผู้ทุ่มเทให้กับการพยาบาลยุคใหม่ชาวอังกฤษ ค้นพบว่าผู้ป่วยจิตเวชที่ได้ใช้เวลากับสัตว์ตัวเล็กจะมีความกระวนกระวายลดลง ในขณะที่นักจิตวิทยาระดับโลกชาวออสเตรียอย่าง ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เชื่อว่าสุนัขสัมผัสได้ถึงระดับความเครียดของคน เขาจึงใช้สุนัขสื่อสารกับผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยเล่นกับสุนัขของเขาก่อนเหมือนแง้มประตูให้เกิดความไว้วางใจ จากนั้นเขาจึงเข้ามาพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อรักษาต่อไป ในยุคทศวรรษที่ 70 แนวคิดของการนำสัตว์มาเป็นผู้ช่วยในการบำบัด ตามโรงพยาบาล หรือศูนย์สุขภาพ เริ่มเป็นที่สนใจในวงกว้าง จนกระทั่งในปี 1976 อีเลน สมิธ (Elaine Smith) พยาบาลชาวอเมริกัน ขณะทำงานในประเทศอังกฤษ ได้สังเกตเห็นว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เมื่อได้เล่นกับสุนัขบำบัด จึงนำแนวคิดนี้กลับมาใช้ในสถานพยาบาลในสหรัฐอเมริกา และเริ่มต้นการฝึกสุนัขเพื่อเป็นนักบำบัด

ผลวิจัยเผยว่าน้องหมาเป็นมากกว่าสัตว์เลี้ยง

ผลการวิจัยทั้งทางแพทย์และจิตวิทยายืนยันว่าสุนัขสามารถช่วยในการบำบัดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของจิตใจและอารมณ์ ลดความกังวล ความเครียด อาการซึมเศร้า

อีกทั้งช่วยเรื่องของการฝึกเคลื่อนไหวอวัยวะ กายภาพบำบัด ไปจนถึงช่วยให้หัวใจสดใสแข็งแรง ทั้งในกลุ่มเด็กนักเรียน คนป่วย และผู้สูงวัย มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมจาก เอมี่ แมคคอลลาห์ (Amy McCullough) หัวหน้าวิจัยและผู้อำนวยการด้านการวิจัยและบำบัดแห่งชาติจาก American Humane ในวอชิงตัน ดี. ซี. เกี่ยวกับสุนัขที่ช่วยบำบัดผู้ป่วยว่ามีอาการเครียดหรือไม่ โดยการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยมากกว่า 100 ราย และสุนัขช่วยเยียวยาอีก 26 ตัว ผลการศึกษาพบว่าน้องหมาไม่ได้รู้สึกเครียดจากการทำงาน ในบางกรณีกลับมีความสุขมากขึ้นด้วย ทีมนักวิจัยวัดปริมาณของฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อความเครียด โดยวัดได้ในน้ำลายของสุนัข โดยทีมผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจากทั้งสุนัขในบ้านและในโรงพยาบาล ข่าวสัตว์เลี้ยง จากนั้นทีมนักวิจัยบันทึกวิดีโอของสุนัขทั้ง 26 ตัวระหว่างปฏิบัติงาน และวิเคราะห์พฤติกรรมของพวกมัน โดยพวกเขาแบ่งท่าทางการแสดงออกเป็น 3 กลุ่มคือ หนึ่ง ท่าทางที่เป็นมิตรมาก เช่น การเข้าใกล้คนหรือเล่นด้วย, สอง ท่าทางที่บ่งชี้ระดับความเครียดเล็กน้อย เช่น อาการสั่น หรือเลียปากไปมา และสาม ท่าทางที่บ่งชี้ระดับความเครียดสูง จากการส่งเสียงร้องคราง ผลการวิเคราะห์ทีมนักวิจัยพบว่า ไม่มีความแตกต่างของระดับคอร์ติซอลระหว่างสุนัขที่บ้านและที่โรงพยาบาล รวมทั้งการทำงานเยียวยาผู้ป่วยนั้น ไม่ก่อให้เกิดท่าทางที่บ่งชี้ว่ามีความเครียดในสุนัขแต่อย่างใดหลายประเทศนำสุนัขบำบัดมาช่วยเหลือผู้คนจำนวนมาก ปัจจุบันในหลายๆ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ บราซิล ได้มีบริการสัตว์เลี้ยงบำบัดเพื่อรักษาผู้ป่วย โดยสุนัขที่ทำหน้าที่เยียวยาจะเข้ารับการฝึกฝน และมีใบรับรองอย่างเป็นทางการจากองค์กรที่น่าเชื่อถือ ก่อนที่จะส่งพวกมันไปยังโรงพยาบาล หรือตามศูนย์ต่างๆ รวมถึงในประเทศไทยเองที่ตอนนี้มี “ศูนย์สุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทย” ที่ร่วมมือกับ Therapy Dog Association Switzerland VTHS ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถนำสุนัขของตนเองมารับการอบรมเป็นสุนัขบำบัดได้ ซึ่งสุนัขนักบำบัดที่ได้รับการฝึกพร้อมกับเจ้าของ จะสามารถดูแลผู้คนจำนวนมาก ทุกเพศวัย ตั้งแต่คนในครอบครัว คนรอบตัวที่ต้องการความช่วยเหลือ และยังสามารถกระจายออกไปดูแลผู้คนในสังคมวงกว้างได้อีกด้วย